ไฟป่า
ไฟป่า คือ ภัยธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การเผาป่า เผาไร่ เพื่อกำจัดวัชพืช และมีส่วนน้อยที่เกิดจากการเสียดสีของต้นไม้แห้งและฟ้าผ่า ส่วนมากมักจะเกิดในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนพฤษภาคม ทำให้เกิดมลพิษในอากาศมากขึ้น ผงฝุ่นและควันไฟกระจายไปในอากาศ ไม่สามารถลอยขึ้นเบื้องบนได้ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนและเกิดผลเสียต่อสุขภาพ พืชผลทางการเกษตรด้อยคุณภาพแหล่งทรัพยากรโดยเฉพาะป่าไม้ ซึ่งมีอยู่ไม่มากในประเทศถูกทำาลายและเหลือน้อยลง
การเตรียมความพร้อมรับมือ
ก่อน เกิดไฟป่า
1. ทำแนวกันไฟรอบที่อยู่อาศัยหรือชุมชน ด้วยการกำจัดวัสดุที่เป็นเชื้อไฟ เช่น เศษหญ้าหรือวัชพืชแห้งเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง (ปลายเดือน ก.พ.- พ.ค.)
2. จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ช่วยในการดับไฟหรือระงับการลุกลามของไฟไว้ที่บ้านและในชุมชน ให้พร้อมและสะดวกต่อการใช้งาน
3. เตรียมหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือในการดับไฟป่า
ขณะเกิดไฟป่า
1. เมื่อเกิดไฟไหม้ หรือไฟป่า ให้หลบหนีออกมาจากบริเวณนั้นอย่างรวดเร็วที่สุด หากอยู่ในอาคารสูงอย่าใช้ลิฟท์ ให้ใช้บันไดหนีไฟ
2. ระวังอย่าสูดควันไฟและควรหลบให้พ้นจากสิ่งของติดไฟที่อาจหล่นลงมา ทำให้เกิดอันตราย หรือหากพอมีเวลาจะใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ ปิดจมูกแล้วรีบหลบหนีออกมา
3. กรณีไฟป่าให้อพยพไปยังสถานที่หลบภัย หรือ สถานที่ปลอดภัย
ข้อควรจำ
– ไฟป่าหากรีบดับโดยเร็วจะไม่ลุกลามอย่างกว้างขวาง ไฟป่าจะลุกลามตามทิศทางลม ไฟป่าสามารถลุกลามข้ามแนวกันไฟหรือข้ามถนนได้ เมื่อมีเชื้อเพลิงจำนวนมากและมีลมแรง การดับไฟป่าจะมีประสิทธิภาพด้วยการตัดเส้นทางการลุกลามหรือตัดเชื้อเพลิง
หมอกควัน
หมอกควัน..เป็นปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีและทวีความรุนแรงมากขึ้นในภาคเหนือของประเทศไทย สาเหตุหลักเกิดจากไฟป่า ฝุ่นละอองจากถนน ควันจากภาคอุตสาหกรรม และเขม่าจากน้ำมันดีเซล ทำให้คุณภาพอากาศแย่ลง ประกอบกับสภาพภูมิประเทศ ซึ่งมีภูเขาล้อมรอบทำให้มลพิษต่างๆ ถูกกักไว้และแผ่ปกคลุมทั่วเมือง
กวรเตรียมความพร้อมรับมือ
ก่อน เกิดปัญหาหมอกควัน
1. ลด ละ เลิก หรือหลีกเลี่ยงการเผาหรือการทำากิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นควันเพิ่มขึ้น
2.ให้ความรู้แก่ผู้อื่นว่าการก่อมลพิษทางอากาศทุกชนิดโดยเฉพาะการเผาบั่นทอนสุขภาพตัวเองและผู้อื่นและการเผาผิดกฎหมายอาญา มาตรา 220 อาจถูกปรับ ถึง 14,000 บาทจำาคุกถึง 7 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ทุกคนมีส่วนร่วมในการเก็บใบไม้กิ่งไม้ เพื่อทำปุ๋ยหมักแทนการเผา
4. ลดการสร้างขยะ แยกขยะอย่างถูกวิธี เพื่อลดปริมาณขยะที่มักเป็นสาเหตุของการเผา
5. เจ้าของที่ดินดูแลที่ดินของตัวเอง มีการแผ้วถางและปลูกต้นไม้ เพื่อป้องกันมิให้มีการเผาเกิดขึ้น
6. ปลูกต้นไม้ใหญ่และไม้พุ่มรวมทั้งไม้ในร่มเพิ่มมากขึ้น
ขณะเกิดปัญหาหมอกควัน
1. ปิดประตูหน้าต่าง เพื่อมิให้มลพิษทางอากาศเข้ามาสะสมในอาคาร หากมีเครื่องฟอกอากาศให้เปิดใช้งาน
2. ผู้สูงอายุซึ่งมักมีปัญหาโรคหัวใจ โรคปอด โรคหอบหืด รวมทั้งเด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานยังไม่ดี เป็นกลุ่มเสี่ยงจึงควรงดออกไปทำกิจกรรมนอกอาคาร
3.หากมีความจำเป็นต้องไปทำกิจกรรมนอกอาคารควรสวมหน้ากากที่สามารถกรองฝุ่นละเอียดขนาดเล็กหรือใช้ผ้าชุบน้ำให้ชุ่ม หรือใช้ผ้าเช็ดหน้าทบหลายชั้นชุบน้ำให้ชุ่มแล้วปิดจมูก
4. สวมแว่นตาเพื่อปกป้องดวงตาจากลมและหมอกควัน ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ควรสวมหมวกกันน็อค แบบมีหน้ากาก
5. ใช้น้ำเกลือกลั้วคอเพื่อป้องกันอาการเจ็บคอ
6. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงที่มีหมอกควันมาก เพราะจะเป็นอันตรายต่อปอดมากกว่าเป็นผลดีต่อร่างกาย
7. ห้ามการเผาทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพื่อมิให้ซ้ำเติมสภาพอากาศที่เลวร้ายอยู่แล้ว
