ตำบลมุจลินท์ เดิมเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของตำบลโคกสลุด อำเภอโพธิ์หวี ในปี พ.ศ.2522 ได้แยกตำบลออกจากตำบลโคกสลุด เนื่องจากมีประชากรอาศัยอยู่มาก และไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางไปมา หากมีข้อราชการที่ต้องประชุม หรือแจ้งการเกิดการตาย ในสมัยนั้นต้องใช้เรือในการเดินทางหรือเดินเท้า ทำให้เกิดความลำบาก จึงได้ขอแยกตำบลออกมาและตั้งชื่อตำบลว่า “มุจลินท์” เพราะในพื้นที่ตำบลมุจลินท์ มีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก คือ ต้นจิก ซึ่งในทางพระพุทธศาสนา แปลว่า “มุจลินท์” จึงได้นำมาตั้งเป็นชื่อตำบลตั้งแต่นั้นมา โดยมีนายเหนียม อยู่คง เป็นกำนันตำบลมุจลินท์คนแรก
ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตตำบลมุจลินท์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2540 มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากลำลาดชะโด ใต้เทือกเขาใหญ่ เหนือบ้านลาดชะโด ตำบลมุจลินท์ บริเวณพิกัด P S 611481 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านทุ่งนาถึงคลองลำเป็ดใต้วัดถ้ำช้างเผือก บริเวณพิกัดP S 623463 ไปทางทิศตะวันออกผ่านทุ่งนา ถึงคลองลำหนองพุงเหนือบ้านมุจลินท์ บริเวณพิกัด P S 643460 รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร
- ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลบางลี่ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากคลองลำพุงเข้ เหนือบ้านมุจลินท์ บริเวณพิกัด P S 643460 ไปทางทิศใต้ ใช้คลองลำหนองพุงเข้ และคลองคนฉลาดเป็นแนวแบ่งเขต สิ้นสุดแนวเขตที่คลองบางลี่ บริเวณพิกัด P S 643460 รวมระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร
- ทิศใต้ ติดต่อตำบลบางงา อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากคลองบางลี่ บริเวณพิกัด P S633428 ไปทางทิศตะวันตก ถึงหนองบัว ด้านเหนือสิ้นสุดแนวเขตที่ลำหนองยาวด้านใต้ บริเวณพิกัด P S 615435 รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร
- ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลโคกสลุด อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากลำหนองยาวด้านใต้ บริเวณพิกัด P S 615435 ไปทางทิศเหนือใช้ลำหนองยาวและคลองลำลาดชะโด เป็นแนวแบ่งเขต สิ้นสุดแนวเขตที่ด้านใต้ของเทือกเขาใหญ่ เหนือบ้านราชโด ตำบลมุจลินท์ บริเวณพิกัด P S 611481 รวมระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 4.5 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศ เป็นลักษณะพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง มีที่ดอนบ้างเล็กน้อย สภาพดินเหมาะสมกับการเพาะปลูก เกิดจากการทับถมของตะกอนลำน้ำในฤดูน้ำหลากแต่ละปีน้ำจากแม่น้ำลำคลอง น้ำจะไหลท่วมบริเวณพื้นที่การเกษตรแล้วจะพัดเอาตะกอนมาทับถมกัน และบางปีก็หลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกใช้ประโยชน์ในการทำนา รองลงมาเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน
ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลมุจลินท์ ตั้งอยู่ในเขตร้อน สภาวะอากาศโดยทั่วไปร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิสูงสุดในตอนบ่าย ปกติจะสูงถึงเกือบ 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่าในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยเฉพาะเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุดในรอบปี และอาจเกิดพายุฤดูร้อนพร้อมทั้งมีพายุฟ้าคะนอง
ส่วนฤดูฝนหรือฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมที่พัดปกคลุมส่วนใหญ่เป็นลมตะวันตก ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้ ปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้น โดยมีจะมีปริมาณฝนตกมากในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน
ส่วนฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้ามืด จะลดลงอยู่ในเกณฑ์หนาวถึงหนาวจัด โดยเฉพาะเดือนธันวาคมเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวมากที่สุดในรอบปี ท้องฟ้าจะโปร่ง และมีเมฆปกคลุมน้อยกว่าช่วงอื่นของปี
ฤดูกาลต่าง ๆ 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายน อากาศจะร้อนและแห้งแล้ง
- ฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม อากาศจะชุ่มชื้นมีฝนตก
- ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นสลับกับอากาศร้อน
ลักษณะของดิน
ลักษณะโดยทั่วไป เนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินเป็นสีเทาเข้ม สีน้ำตาลปนเทาเข้ม ดินล่างเป็นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน มีจุดสีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลปนเหลือง พบตามที่ราบลุ่มหรือที่ราบเรียบ เป็นดินลึก ฤดูแล้งดินแห้งแตกระแหงเป็นร่องกว้างลึก ฤดูฝนน้ำขังลึกประมาณ 20 – 50 ซม. ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง มีปฏิกิริยาปานกลาง ถ้าเป็นกรดเล็กน้อยมีค่าความเป็นกรดปริมาณ 5.5 – 6.5 ส่วนดินชั้นล่างหากมีหอยปะปน จะมีปฏิกิริยาเป็นด่างอ่อนหรือมีค่าความเป็นด่าง มีค่าความเป็นด่างประมาณ 7.5 – 8.0 สำหรับปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ถ้าเป็นที่ราบลุ่มมากๆ จะมีปัญหาในเรื่องน้ำท่วมในฤดูฝน
ลักษณะพื้นที่มีความเหมาะสมในการทำนา เนื่องจากสภาพพื้นที่ราบเรียบ เนื้อดินเป็นดินเหนียว ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำท่วมขังที่ผิวดินนาน หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ไม่เหมาะสมในการปลูกพืชไม้ยืนต้น เพราะมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน แต่สามารถปลูกพืชไร่และพืชผักบางชนิดได้ในฤดูแล้ง อย่างไรก็ตามสามารถเปลี่ยนสภาพการใช้ประโยชน์ได้ ถ้ามีการพัฒนาที่ดินโดยการยกคันนาดินเพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมและยกร่องเพื่อช่วยการระบายของดิน
ลักษณะของแหล่งน้ำ
ตำบลมุจลินท์ มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำบางขาม (คลองชัยนาท–ป่าสัก 3) เป็นแม่น้ำสายหลักของพื้นที่ ซึ่งไหลผ่านหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ตั้งแต่หมู่ที่ 1 –หมู่ที่ 9 และมีคลองชลประทาน/หนองน้ำ จำนวน 9 แห่ง ดังนี้
- คลองพนังกั้นน้ำ (คูยืมดิน) หมู่ที่ 1 –9 ความยาว 3,800 เมตร
- คลองลาดชะโด หมู่ที่ 1 ความยาว 1,800 เมตร
- คลองศาลาแดง หมู่ที่ 3 ความยาว 2,000 เมตร
- คลองลำเป็ด หมู่ที่ 4 ความยาว 750 เมตร
- คลองคันฉลาด หมู่ที่ 6 ความยาว 1,300 เมตร
- คลองหนองเข้ หมู่ที่ 6 – 9 ความยาว 2,400 เมตร
- คลอง 1 ซ้าย 16 ขวา หมู่ที่ 6 – 9 ความยาว 2,500 เมตร
- หนองรักแร้ หมู่ที่ 9 พื้นที่ 6 ไร่
- หนองผักชี หมู่ที่ 9 พื้นที่ 8 ไร่
ลักษณะของไม้และป่าไม้
เนื่องจากเป็นทุ่งกว้าง ที่ราบลุ่มน้ำขัง เกษตรกรทำนาเป็นอาชีพหลัก ป่าธรรมชาติจึงไม่มี จะมีเพียงแต่สภาพป่าเศรษฐกิจที่ปลูกไว้ใช้สอย ประเภทไม้ผลไม้ยืนต้น ในบริเวณที่อยู่อาศัย ที่สาธารณะ ผลผลิตจากไม้ผลที่ได้จะไว้บริโภคและแจกจ่ายซื้อขายในหมู่บ้าน
เขตการปกครอง
ตำบลมุจลินท์ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ดังนี้
Ø ตารางแสดงเขตการปกครองตำบลมุจลินท์
หมู่ที่ | หมู่บ้าน | ผู้นำหมู่บ้าน | |
1 | บ้านลาดชะโด | นายมานพ อยู่เย็น
นายธนา ไวยบุตรี นางสาวผุสดี ฤกษ์อินทร์ |
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
2 | บ้านปากคลองลาดชะโด | นายไพโรจน์ ยิ้มอยู่
นางน้ำเชื่อม ยืนยง นางสาวจุฑารัตน์ ยิ้มอยู่ |
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
3 | บ้านปากคลองลาดชะโด | นายทวีศักดิ์ วชิรศักดาเดช
นางฉลอง สังข์กลิ่นหอม นางนิรมล ราตรี นางธนมาศ คงขำ นายเอื้อ ขวัญเมือง |
กำนันตำบลมุจลินท์
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน สารวัตรกำนัน |
4 | บ้านโคกสลุด | นางสุรีรัตน์ ช่วยบุญ
นางสุกัญญา สุวรรณคำภู นางลำภา คำเทศ |
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
5 | บ้านมุจลินท์ | นายวรสิทธิ์ ฉะอ้อน
นายสงบ ทองมี นางสาวนิตญา สมบูรณ์มรกต |
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
6 | บ้านมอญ | นายจรัญ ปล้องอ้วน
นายปัญจกิจ บุญมี นางสาวสุมิตรา กรานสำราญ |
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
7 | บ้านมุจลินท์ | นางน้ำค้าง จันทร์หอม
นางไฉน อินทรา นางสาวลลิตา อินทรา |
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
8 | บ้านมุจลินท์ | นายณรงค์ ชูจันทร์
นางจรรยาพร รอดสกุล นางเล็ก อิศร |
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
9 | บ้านท้ายน้ำ | นางสมศรี สุขมูล
นางรัสวัลย์ สุขมาก นางดวงแก้ว สีบุญมี |
ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน |
การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ ได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ จำนวน 9 เขตเลือกตั้ง
Ø ตารางสถิติการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ วันที่ 20 พฤษภาคม 2555
เขตเลือกตั้ง | จำนวน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (คน) |
จำนวน
ผู้มาใช้สิทธิ (คน) |
ร้อยละ |
1 | 1,931 | 1,691 | 87.57 |
Ø ตารางสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ วันที่ 20 พฤษภาคม 2555
เขตเลือกตั้ง | จำนวน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (คน) |
จำนวน
ผู้มาใช้สิทธิ (คน) |
ร้อยละ |
1 | 194 | 169 | 87.11 |
2 | 97 | 87 | 89.69 |
3 | 208 | 181 | 87.02 |
4 | 274 | 231 | 84.30 |
5 | 182 | 158 | 86.81 |
6 | 243 | 207 | 85.18 |
7 | 180 | 131 | 72.77 |
8 | 281 | 227 | 80.78 |
9 | 270 | 226 | 83.70 |
รวม | 1,929 | 1,617 | 87.55 |