วิสัยทัศน์ & พันธกิจ

วิสัยทัศน์

            “คุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนเข้มแข็ง บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล”

ยุทธศาสตร์

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
  3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชนและการรักษาความสงบเรียบร้อย
  4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
  5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ

เป้าประสงค์

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

เป้าประสงค์ : ระบบโครงสร้างพื้นฐาน มีอย่างเพียงพอและทั่วถึง

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต

เป้าประสงค์ :  ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการศึกษา ชุมชนได้ร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชนและการรักษาความสงบเรียบร้อย

เป้าประสงค์ :  ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชนปลอดยาเสพติด มีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

เป้าประสงค์ :  ประชาชนมีอาชีพ  ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เป้าประสงค์ :  ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี น่าอยู่

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ

เป้าประสงค์ :  องค์กรมีการบริหารจัดการที่ดี

ตัวชี้วัด

ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 1. จำนวนเส้นทางการคมนาคมที่ก่อสร้าง/ปรับปรุงซ่อมแซม

2. จำนวนเส้นทาง/หมู่บ้านที่มีระบบส่องสว่าง

3. จำนวนครัวเรือนที่มีน้ำใช้

4. จำนวนแหล่งน้ำที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนา

5. จำนวนระบบระบายน้ำที่เพิ่มขึ้น/ปรับปรุงซ่อมแซม

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต 1. จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการจัดสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์

2.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการด้านการศึกษา

3. จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการด้านสาธารณสุขและการส่งเสริมสุขภาพ

4. จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการด้านศาสนา วัฒนธรรม การกีฬาและนันทนาการ

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชนและการรักษาความสงบเรียบร้อย 1. จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการด้านการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย

2. จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 1. จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่ประชาชน

2. จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1. จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูหรือรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการบริหารจัดการขยะและปัญหามลภาวะในชุมชน

6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ 1. จำนวนบุคลากร/เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนา

2. ร้อยละของประชาชนที่ได้รับความพึงพอใจจากการรับบริการ

3. ร้อยละของผลคะแนนการประเมินการบริหารจัดการองค์กร

ค่าเป้าหมาย

1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ค่าเป้าหมาย :  80%

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต

ค่าเป้าหมาย :   80%

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชนและการรักษาความสงบเรียบร้อย

ค่าเป้าหมาย :   80%

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

ค่าเป้าหมาย :   80%

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ค่าเป้าหมาย :   80%

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ

ค่าเป้าหมาย :   80%

กลยุทธ์

         เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการวางบทบาทการพัฒนาในอนาคตอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของประชาชน รวมทั้งสอดคล้องกับศักยภาพ และบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น จึงได้กำหนด  กลยุทธ์  ดังนี้

ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 1. ก่อสร้าง ปรับปรุงและบำรุงรักษาถนน สะพาน ระบบระบายน้ำ

2. จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร

3. ติดตั้งและซ่อมแซมไฟฟ้าสาธารณะ

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต 1. ส่งเสริมสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์

2. ส่งเสริมการศึกษา

3. ส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

4. ส่งเสริมศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชนและการรักษาความสงบเรียบร้อย 1. รักษาความสงบเรียบร้อยและการป้องกันบรรเทา

สาธารณภัย

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 1. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับประชาชน

2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1. ส่งเสริมการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. ส่งเสริมการบริหารจัดการขยะในชุมชน

6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ 1. พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร

2. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร

จุดยืนทางยุทธศาสตร์

การพัฒนาในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑2 (พ.ศ.๒๕60-๒๕64)  มุ่งพัฒนาการน้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วน เพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และยุทธศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดลพบุรี และยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มุ่งเน้นด้านฐานการผลิตอาหารปลอดภัย พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ มุ่งสู่เมืองน่าอยู่ รวมทั้งพัฒนาบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

จากประเด็นความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12  ยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์จังหวัด จะเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนในการนำมาเป็นแนวทางกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจนจะเป็นการเตรียมการพัฒนา ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการศึกษา อนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนการอยู่ดีมีสุข ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา          เพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของชุมชน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง องค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์ จึงได้กำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning)คือ “พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อรองรับการค้า การลงทุน การเกษตร และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ควบคู่กับการสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน”